ฟิล์มติดรถยนต์คืออะไร และมีด้วยกันกี่ประเภทที่มีวางขายในประเทศไทย ?

ฟิล์มติดรถยนต์ คือแผ่นฟิล์มที่ผลิตจากพลาสติกโพลีเอสเตอร์ มีลักษณะใส เหนียว ยืดหยุ่นน้อย ไม่ดูดซับความชื้น มีความทนทานต่อสภาพอากาศทั้งสูงและต่ำ ในเนื้อฟิล์มติดรถยนต์ จะมีวัสดุที่ใช้เพื่อป้องกันความร้อนและรังสียูวี โดยใช้เทคโนโลยี ในการผลิตเป็นชิ้น ๆ ผสานด้วยกาวพิเศษเพื่อการยึดเกาะได้อย่างเหนียวแน่น

ประเภทของฟิล์มติดรถยนต์ที่มีวางขายในประเทศไทย

ฟิล์มติดรถยนต์มีวางขายในประเทศไทย มี 3 ประเภทใหญ่ๆ ด้วยกัน นั่นก็คือ

  • ฟิล์มติดรถยนต์ประเภทที่ 1 คือ ฟิล์มกรองแสงรถยนต์แบบปกติ (Dyed Window Tints) ฟิล์มติดรถยนต์แบบธรรมดาทั่วไป สามารถป้องกันรังสียูวีหรือรังสีอัลตราไวโอเลตได้ดีในระดับหนึ่ง ตัวฟิล์มมีคุณสมบัติสะท้อนแสงจากภายนอกและลดปริมาณความร้อนสะสมได้เพียงเล็กน้อย มีข้อดีคือราคาไม่สูงมากเมื่อใช้งานไปสักระยะสีของฟิล์มจะเริ่มซีดลง และมีโอกาสเกิดรอยขีดข่วน หรือสร้างความเสียหายให้กับกระจกรถได้
  • ฟิล์มติดรถยนต์ประเภทที่ 2 คือ ฟิล์มกรองแสงรถยนต์แบบปรอท (Metallized Window Tints) ฟิล์มกรองแสงที่มีลักษณะแวววาว มีคุณสมบัติป้องกันรังสียูวีและสะท้อนความร้อนได้ดี ตัวฟิล์มกรองแสงถูกย้อมด้วยสีที่มีส่วนผสมของโลหะที่จะถูกฝังอยู่ภายในชั้นของฟิล์ม ตัวฟิล์มจึงมีความแข็งแกร่ง ช่วยป้องกันรอยขีดข่วนได้ แต่ข้อเสียของฟิล์มกรองแสงรถยนต์แบบปรอทก็คืออาจทำให้อุปกรณ์ เช่น GPS หรือ Easy Pass ใช้งานได้ไม่สะดวกมากนัก
  • ฟิล์มติดรถยนต์ประเภทที่ 3 คือ ฟิล์มกรองแสงรถยนต์แบบไฮบริด (Hybrid Window Tints) ฟิล์มติดรถยนต์ที่มีการผสมระหว่างฟิล์มย้อมสีและฟิล์มสีเมทัลไลซ์ที่มีส่วนผสมของโลหะอยู่ในชั้นฟิล์ม มีคุณสมบัติกรองแสงได้ดี สีไม่ซีด และสามารถป้องกันรอยขีดข่วนได้ ข้อเสียคือมีราคาที่ค่อนข้างสูง และไม่เป็นที่นิยมมากนัก

และทั้งหมดทั้งมวลนี้ ก็คือ ฟิล์มติดรถยนต์คืออะไร และมีด้วยกันกี่ประเภทที่มีวางขายในประเทศไทยที่เรานำมาฝากกันในบทความนี้นั่นเอง ทั้งนี้ ก่อนการจะป้องกันรถด้วยการติดรถยนต์ เราขอแนะนำให้ป้องกันรถด้วยการเช็คราคาประกันรถยนต์กันก่อน หากคุณถามว่าทำไมต้องเช็คราคาประกันรถยนต์ก่อนด้วยล่ะ เราขอบอกเลยว่าการเช็คราคาประกันรถยนต์จะช่วยให้สามารถเลือกประกันรถยนต์ที่คุ้มค่าและเหมาะสมกับความต้องการได้ ประหยัดค่าใช้จ่ายในการซื้อประกันรถยนต์ได้ เปรียบเทียบเบี้ยประกันจากหลายบริษัทประกันภัยได้อย่างรวดเร็วและง่ายดาย และอัปเดตเบี้ยประกันเป็นประจำได้นั่นเอง

Tags: